Think in English: 5 เทคนิค คิดเป็นภาษาอังกฤษ แทนการแปลในหัว

คิดเป็นภาษาอังกฤษ

“เคยมั้ย…จะพูดภาษาอังกฤษแต่ละทีก็พูดได้ไม่ทันใจ ต้องมานั่งนึกศัพท์ นั่งแปลไทยเป็นอังกฤษอีก?”

      ต้องบอกก่อนเลยว่าสภาพแวดล้อมมีบทบาทสำคัญกับกระบวนการคิดและกระบวนการสื่อสารมาก ถ้าเราถูกรายล้อมไปด้วยผู้คนที่พูดภาษาที่เรากำลังเรียนอยู่ เราก็จะได้ใช้ภาษานั้นบ่อย ๆ บ่อยจนสมองของเราจะเริ่มคิดเป็นภาษานั้นไปเองโดยธรรมชาติ แต่ถ้าหลาย ๆ คนที่เข้ามาอ่านบทความนี้กันอยู่ในกรณีนั้นคงไม่ต้องมาหาวิธีหรือขั้นตอนที่จะช่วยให้เราคิดเป็นภาษาอังกฤษกันใช่มั้ยล่ะ? No need to fret! วันนี้ English Munmun จะพาทุกคนมา Train your brain to think in English กันด้วย 5 เทคนิค คิดเป็นภาษาอังกฤษ แทนการแปลในหัว ถ้าทุกคนพร้อมแล้วละก็…ไปเริ่มกันเลย! 

Think in English: 5 เทคนิค คิดเป็นภาษาอังกฤษ แทนการแปลในหัว

1. คิดภาษาอังกฤษเป็นคำ ๆ


      ในช่วงเริ่มต้น แน่นอนว่าหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่สามารถสื่อสารได้อย่างลื่นไหลอย่างที่เราอยากให้เป็น แต่อย่าเก็บเอาตรงจุดนี้มาคิดให้หงุดหงิดใจไป English Munmun อยากบอกทุกคนว่าการ Start small เป็นสิ่งสำคัญ ลองเริ่มจากการหัดสังเกต surroundings ของเราดู เราเห็นอะไรบ้าง? แล้วลองคิดเป็นภาษาอังกฤษและพูดออกมาดัง ๆ ว่าสิ่งนี้มันคืออะไร

      เพื่อให้การฝึกมีความสนุกมากขึ้น เราอาจจะ Challenge ตัวเองด้วยการกำหนดจำนวนคำที่เราต้องคิดเป็นภาษาอังกฤษในแต่ละวัน เช่น วันนี้ 3 คำ วันต่อมา 5 คำ หรือ เราอาจจะลองนำสิ่งรอบตัวเรามาแต่งเป็นเพลงคำศัพท์หรือคำคล้องจองเพื่อให้จำได้ง่ายขึ้นก็ได้ เพียงเท่านี้การฝึกก็จะไม่น่าเบื่ออีกต่อไป!

2. อธิบายคำที่ไม่รู้

Picture by drobotdean

“คำศัพท์ในภาษาอังกฤษมีอยู่เต็มไปหมด แถมยังมีศัพท์ใหม่เกิดขึ้นมาอยู่เรื่อย ๆ อีก ใครมันจะไปรู้หมดทุกคำ?”

      ถูกต้อง! ไม่มีใครรู้คำศัพท์ทุกคำบนโลกนี้หรอก เจ้าของภาษาก็ไม่รู้ English Munmun ก็ไม่รู้! ขนาดภาษาไทยที่เป็น Mother tongue ของเราเอง เรายังไม่รู้คำศัพท์ทุกคำเลย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรถ้าไปเจอคำที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อน แต่ว่า…สิ่งหนึ่งที่เราทำได้เมื่อคิดภาษาอังกฤษไม่ออกไม่ใช่การช่างมัน แต่เป็นการรู้เทคนิคเรียนศัพท์และการพยายามที่จะอธิบายสิ่ง ๆ นั้นด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษทั้งหมดที่เรารู้แทน

ตัวอย่าง:

      ถ้าเราไม่รู้ว่า มีด (knife) ในภาษาอังกฤษใช้คำว่าอะไร เราอาจจะลองคิดเป็นภาษาอังกฤษและอธิบายง่าย ๆ ได้ว่า “It is a sharp tool in the kitchen. We use it to cut food.” เท่านี้คู่สนทนาของเราก็จะพอจับ Keyword (sharp tool, kitchen, cut food) และพอจะเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการจะสื่อได้แล้ว

      นอกจากนี้ การใช้พจนานุกรม English-English ไม่ว่าจะเป็น Cambridge Dictionary, Oxford Learner’s Dictionaries หรือ Collins Dictionary ก็ช่วยให้เราอธิบายศัพท์ที่เราไม่รู้เป็นภาษาอังกฤษได้ง่ายขึ้นด้วยนะ!

3. บอกเล่ากิจวัตร

คิดภาษาอังกฤษ

Picture by wayhomestudio

      เมื่อคลังคำศัพท์ของเราเริ่มกว้างขึ้นแล้ว สิ่งที่เราสามารถทำได้ในขั้นตอนต่อไปของการฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษคือการลองบอกเล่าเรื่องราวในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็น สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราจะทำ หรือสิ่งที่เราเจอ สำหรับขั้นตอนนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า

“แล้วเรื่อง Grammar ล่ะ? นี่ฉันต้องมานั่งนึกเรื่องการใช้ Grammar ให้ถูกด้วยหรือเปล่า?”

      English Munmun ขอแนะนำว่า สำหรับผู้เริ่มต้นที่อยากลองฝึกคิดภาษาอังกฤษแทนการแปลในหัว ลองนึกถึงสารคดีที่มักจะมี Narrator คอยบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้เราลองสมมติว่าตัวเองเป็น Narrator ที่คอยบรรยายสิ่งต่าง ๆ ที่เราทำในแต่ละวัน โดยเริ่มจากการใช้ Present simple tense (Subject + verb 1) ดูก่อน

ตัวอย่าง:

      ❀ เมื่อเราสวมใส่เสื้อ เราอาจจะคิดเป็นภาษาอังกฤษว่า I put on my shirt.

      ❀ ถ้าเราเห็นแมวนอนบ่อย ๆ เราอาจจะลองพูดออกมาได้ว่า Cats like to sleep 

      เมื่อเราใช้ Present simple tense คล่องแล้วและอยากลองใช้ Tense อื่น ๆ ดูบ้างก็สามารถเข้าไปดูสรุป Grammar เพิ่มเติมได้ที่ 12 tenses ในชีวิตประจำวัน ได้เลย!

4. เรียนจากบริบทและจดศัพท์

คิดภาษาอังกฤษ

      ทุกคนเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ภาษาไทยดิ้นได้” กันหรือเปล่า? มันหมายความว่าอะไรกันนะ? แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการคิดภาษาอังกฤษแทนการแปล? ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ เลย การที่ภาษาดิ้นได้มันหมายถึงการที่คำหรือประโยคต่าง ๆ มีหลายความหมาย ถูกตีความได้หลายแบบ หรือแปลตรงตัวไม่ได้ นั่นเอง English Munmun อยากบอกทุกคนว่า “ถ้าภาษาไทยดิ้นได้ ภาษาอังกฤษก็ Twerk ได้เหมือนกัน!” ลองมาดูตัวอย่างบทสนทนากัน

ตัวอย่าง: 

A: Should I go to the party tonight or stay home and study?
    (ฉันควรไปงานเลี้ยงคืนนี้หรืออยู่บ้านอ่านหนังสือดี?)
B: That’s a tough call.

      จากบทสนทนา ทุกคนคิดว่า Tough call หมายความว่าอะไรกัน? คำว่า Tough (ยาก) รวมกับ call (โทร) = โทรยาก? อืมม…ฟังดูแล้วไม่เข้ากับบริบทที่ A กำลังพูดอยู่เลยใช่มั้ยล่ะ? คำว่า Tough call ในที่นี้หมายถึง ตัดสินใจยาก หรือ ตัดสินใจลำบาก ไม่ได้แปลว่าโทรยากนะ!

      ดังนั้น ถ้าเราอยากฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษ การเรียนรู้จากบริบทและจดศัพท์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เวลาที่เจอคำประเภทนี้ที่เราไม่คุ้นเคย ลองอ่านสถานการณ์ดูว่าผู้พูดหมายถึงอะไร รวมถึงหัดพกสมุดโน้ตเล่มเล็ก ๆ ติดตัวและจดศัพท์ วลี สำนวนต่าง ๆ พร้อมวิธีใช้ลงไปดู เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถคิดภาษาอังกฤษแทนการแปลในหัวได้ง่ายขึ้น!

5. ฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง

คิดเป็นภาษาอังกฤษ

Picture by pressfoto

      Nothing beats consistency! จะคิดเป็นภาษาอังกฤษแทนการแปลในหัวให้ได้ มีแค่ Goal อย่างเดียวไม่พอ! เราต้องอาศัย Consistency ด้วย! ยิ่งเราฝึกเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ทักษะภาษาอังกฤษของเราก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น การ recall คำศัพท์ ในภาษาอังกฤษสำหรับสถานการณ์ต่าง ๆ ก็จะยิ่งง่ายขึ้นเพราะเราได้สร้างความคุ้นชินทางภาษาให้กับตัวเราเองจากการฝึกคิดภาษาอังกฤษเป็นประจำโดยที่ตัวเราเองอาจจะไม่รู้ตัวเลยก็ได้ และยิ่งถ้าเรารู้เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษให้คล่องร่วมกับเทคนิคปรับสำเนียงให้เหมือนเจ้าของภาษา แล้วละก็ English Munmun บอกได้คำเดียวเลยว่า ปัง!

สรุป

  1. ฝึกคิดภาษาอังกฤษเป็นคำ ๆ
  2. ฝึกอธิบายคำที่ไม่รู้
  3. ฝึกบอกเล่ากิจวัตร
  4. ฝึกเรียนจากบริบทและจดศัพท์
  5. ฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง

คำศัพท์ที่น่าสนใจในบทความนี้

Fret (v.) = กังวล / กลุ้มใจ / ไม่สบายใจ

Start small (phrase) = เริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ ง่าย ๆ

Surroundings (n.) = สิ่งรอบตัว / สภาพแวดล้อม

Challenge (v. / n.) = ท้าทาย / เรื่องท้าทาย

Mother tongue (n.) = ภาษาแม่

Narrator (n.) = ผู้บรรยาย

Goal (n.) = เป้าหมาย

Consistency (n.) = ความต่อเนื่อง

Recall (v.) = นึกออก

เรียนภาษาอังกฤษสำหรับมือใหม่ ‘เรียนชาตินี้ เก่งถึงชาติหน้า’ ที่ English Munmun กับคอร์สเรียนที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากผู้เรียนกว่า 20,000 คน ว่าพูดได้จริง ไม่ใช่แค่ท่องจำ

วัดระดับภาษาอังกฤษ ฟรี! คลิกที่นี่

สนใจคอร์สเรียน คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดได้เลย

กลับสู่สารบัญ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้ประเภทจำเป็นสำหรับระบบเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า