7 วิธี ที่จะทำให้คุณเรียนภาษาอังกฤษ​ด้วยตัวเอง ได้เร็วขึ้น ตามหลักวิทยาศาสตร์

คอร์สภาษาอังกฤษ

หาเคล็ดลับในการเรียนภาษาอังกฤษ อยู่ใช่ไหม แต่เคล็ดลับไหนกัน ที่จะช่วยให้คุณ เรียนภาษาอังกฤษ​ด้วยตัวเอง ได้เร็วขึ้น วันนี้ English Munmun จึงได้นำหลักการทางวิทยาศาสตร์ มาให้คุณได้ลองศึกษา ค้นคว้า และฝึกฝน เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเอง วิทยาศาสตร์กับการเรียนรู้ด้านภาษา สิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างกว่าสัตว์อื่นๆ ก็คือภาษา ซึ่งต้องบอกว่ามีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มากมาย ที่เน้นศึกษาไปในเรื่องของภาษา

เรียนภาษาอังกฤษ​ด้วยตัวเอง

จากการศึกษาวิจัย ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้กลไกการทำงานสมองของมนุษย์ ทั้งวิธีการเรียนรู้ และวิธีการพูด บางวิจัยก็พยายามทำความเข้าใจว่า ทำไมพวกเราต้องเรียนภาษา บางวิจัยก็ได้ข้อสรุปของประโยชน์ในการเรียนภาษาใหม่ๆ บางวิจัยก็มุ่งศึกษาไปที่เด็กในเรื่องของการเรียนรู้ภาษาได้ตามธรรมชาติ และบางงานวิจัยก็มุ่งเน้นไปศึกษาที่ผู้ใหญ่ แต่งานวิจัยด้านภาษาที่น่าสนใจก็คือ การเรียนภาษาอย่างไรให้ได้ผลเร็วขึ้น

1. ฟังให้มากที่สุด

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บอกว่า การเรียนภาษาจะมีศัพท์ที่เรียกเฉพาะก็คือ การเรียนรู้ภาษาแบบจิตไร้สำนึก หรือการเรียนรู้ภาษาแบบโดยปริยาย เป็นการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราไม่ได้พยายามทำอะไรเลย ซึ่งมันจะไม่ได้เกิดขึ้นจากการที่เรานั่งอยู่บนโต๊ะเรียน แล้วเรียนตามกฎเกณฑ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่มันจะเกิดขึ้นเมื่อเราไม่ได้ใส่ใจกับมันมากนัก โดยให้เสียงภาษาอังกฤษอยู่เป็นเสียงพื้นหลังไว้ แล้วสมองของคุณก็จะดูดซับเสียง สำเนียง คำ และไวยากรณ์โดยอัตโนมัติ แม้ว่าคุณจะไม่ตั้งใจฟัง พูด หรือจดบันทึกก็ตาม

สิ่งที่ประหลาดอีกหนึ่งอย่างก็คือ คนเราสามารถเรียนรู้ภาษาจากการฟังได้ แม้ว่าเราจะไม่เข้าใจความหมายของคำคำนั้นก็ตาม จากหลายงานวิจัยบอกว่ามันเป็นไปได้ ที่มนุษย์จะเรียนรู้ภาษาใดก็ได้จากการฟัง เรายังสามารถเรียนรู้ภาษาที่แต่งขึ้นมาได้ เพียงแค่ฟังจากที่มนุษย์พูด นึกถึงตอนที่เราเป็นเด็ก เราเริ่มอ่าน เริ่มเขียน หรือเริ่มฟังก่อน ใช่ ก็ต้องเป็นการฟังอยู่แล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่าการฟังนั้นสำคัญที่สุด เป็นพื้นฐานแรกที่ควรมี หากอยากเก่งภาษาเร็วๆ

อย่างแรกเลยก็คือฟังภาษาอังกฤษให้มากๆ มากเท่าที่คุณจะทำได้ ฟังไปเรื่อยๆ เริ่มจากสิ่งใกล้ตัว เช่น การดูทีวีเป็นภาษาอังกฤษ ฟังเพลงภาษาอังกฤษ ฟังหนังสือเสียงเป็นภาษาอังกฤษ หรือว่าคุณจะเอาตัวเองไปอยู่ในที่ที่คุณสามารถได้ยินเจ้าของภาษาพูดคุยกันก็ได้ ซึ่งคุณไม่จำเป็นจะต้องไปจดจ่ออยู่กับมันขนาดนั้นเลย

ขณะที่คุณฟัง คุณก็สามารถไปเดินเล่น ทำอาหาร อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย ทำการบ้าน หรือทำงานไปด้วยก็ได้ เพราะตราบใดที่เสียงของภาษาอังกฤษเข้ามาในหู และสมองของคุณ คุณก็จะเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้เร็วมากกว่าที่คุณจะรู้ตัวเสียอีก

2. เรียนรู้สิ่งที่เหมือนกัน

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บอกว่า สิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการเรียนภาษาใหม่ๆ ก็คือการเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงใหม่ทั้งหมด บางภาษาที่เราเลือกเรียน ก็อาจจะมีเสียงที่ห่างไกลจากภาษาของเราพอสมควร ยกตัวอย่างเช่น คำภาษาอังกฤษบางคำจะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “BL” (เช่น Blink) แต่เราคงไม่เคยได้ยินคำที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “LB” หรือถ้าหากใครบอกว่าเคยได้ยิน งั้นให้คุณลองพยายามออกเสียงคำนั้นดู พูดออกมาดังๆ แล้วจะรู้ว่ามันแปลก มันไม่ได้! เพราะบางเสียงมันก็ไม่สมเหตุสมผล

เราอยากให้คุณจำข้อเท็จจริงนี้ไว้ให้ขึ้นใจว่า ถ้าคุณได้ยินเสียงที่ดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้ นั่นแสดงว่ามันน่าจะเป็นไปไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังพยายามเขียนคำว่า “ghost” แต่ไม่แน่ใจว่าตัว h มาก่อน หรือมาหลัง g ให้คุณลองพูดออกมาดังๆ แล้วดูว่ามันสามารถออกเสียงแบบนั้นได้ไหม หรือไม่ หากคุณทำความเข้าใจได้แล้ว นั่นแสดงว่าคุณจะสามารถเรียนรู้การสะกดคำได้ง่ายยิ่งขึ้น

3. การแยกเสียง การออกเสียงนั้นสำคัญ

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บอกว่า การเรียนภาษาอังกฤษ สามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานของสมองได้ ซึ่งมีงานวิจัยฉบับหนึ่งพบว่า เมื่อเราเรียนภาษา สมองของเราบางส่วนจะเติบโตขึ้น ยิ่งมันเติบโตมากเท่าไหร่ การเรียนรู้ภาษาใหม่ๆ ก็จะง่ายยิ่งขึ้นสำหรับคุณ อย่างไรก็ตาม นั่นแสดงให้เห็นว่าสมองของเราตอบสนองต่อเสียง ที่แตกต่างกันออกไป

ยกตัวอย่างเช่น ตัว L กับตัว R เป็นตัวที่แยกเสียงออกได้ยากสำหรับผู้เรียน ยิ่งถ้าภาษาของเรามีเสียง L และ R เป็นเสียงเดียวกัน (เช่น ภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งจากการทดลองแสดงให้เห็นว่า คนที่พูดภาษาอังกฤษ เมื่อได้ยินเสียงตัวอักษร L และ R สมองสองส่วนตอบสนองต่อการได้ยิน แต่ในขณะที่คนพูดภาษาญี่ปุ่นจะตอบสนองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

จาการทดลอง แสดงให้เราเห็นว่าการฟังเสียงช้าๆ สามารถช่วยให้เราเรียนรู้เสียงเหล่านั้นได้ภายในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งบอกเลยว่านั่นถือว่าเร็วมาก

ซึ่งคุณไม่จำเป็นที่จะต้องมีโปรแกรมซอฟต์แวร์ใดๆ ที่จะช่วยให้เสียงช้าลงเลย เพราะเรามีสิ่งที่เรียกว่า “YouTube” สื่อโซเชียลมีเดียออนไลน์ที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยให้คุณหาวิดีโอเกี่ยวกับการออกเสียง โดยเจ้าของภาษาที่คุณสนใจ หรือจะลองดูจากวิดีโอนี้ก็ได้ เป็นวิดีโอสอนการออกเสียง R และ L ที่ดีมากๆ

หากต้องการเปลี่ยนความเร็วในการฟัง ก็สามาถทำได้ง่ายๆ โดยให้คุณคลิกไปที่ตั้งค่า ปุ่มไอคอนตรงด้านขาวล่างของวิดีโอ จากนั้นคลิก “ความเร็วในการเล่น” แล้วเลือกความเร็วที่น้อยกว่า 1 หรือระดับที่คุณต้องการได้เลย แต่เราขอแนะนำว่าให้คุณลองฟังด้วยความเร็วที่ 0.25 เป็นเวลา 10 นาที แล้วจากนั้นให้เปลี่ยนเป็นความเร็วที่ 0.5 อีก 10 นาที แล้วค่อยเปลี่ยนมาเล่นที่ความเร็วปกติเหมือนเดิม ทำแบบนี้สักสองสามครั้ง แล้วคุณจะสังเกตเห็นความแตกต่าง ระหว่างเสียงที่ยากๆ ได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม

และหากอยากเรียนเรื่องการออกเสียงให้มากยิ่งขึ้น เราก็มีคอร์สเรียนการออกเสียงที่อยากจะแนะนำคือคอร์ส Zero to Hero Pronunciation Course คอร์สปรับการพูดภาษาอังกฤษให้เป๊ะปัง ได้เหมือนเจ้าของภาษากับ Teacher​ สลาตัน จากประสบการณ์การสอนมากกว่า 10 ปี

4. เชื่อมโยงด้วยรูปภาพ สัญลักษณ์ เรียนรู้ได้ไวกว่า

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บอกว่า เราสามารถเชื่อมโยงคำศัพท์หลายคำเข้าด้วยกันได้จากหลายๆ คำ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงโดยเสียง ท่าทาง การนึกภาพในใจ หรือดูรูปพร้อมท่องศัพท์ต่างๆ แต่ให้คุณลองคิดว่าเมื่อคุณได้ยินเสียง “โฮ่งๆ” คุณจะนึกถึงอะไรในหัว หรือเมื่อคุณเห็นรูปดวงอาทิตย์ คุณก็จะนึกถึงคำว่า “ดวงอาทิตย์” “ความอบอุ่น” หรือ “ความร้อน” ได้ในทันที โดยที่คุณไม่ต้องใช้เวลาคิดเลย เพราะว่าคุณมีภาพของมันอยู่ในหัวของคุณอยู่แล้ว

การเรียนคำศัพท์ผ่านการเชื่อมโยง จึงไม่เพียงแต่ให้ความสนุกกับเราเท่านั้น แต่มันยังเป็นวิธี ที่จะช่วยให้การเรียนภาษาอังกฤษของคุณเร็วขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ใช้วิจัยฉบับนี้ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับภาษาสัญลักษณ์ ที่ใช้มือ และนิ้วสร้างเป็นคำต่างๆ สำหรับคนหูหนวกที่ไว้ใช้สื่อสารกัน โดยจากการทดลองแสดงให้เราเห็นว่า การจดจำด้วยสัญลักษณ์นั้นจะจำได้ง่ายกว่า เช่น เราทำสัญลักษณ์ที่คล้ายกับคำว่า “กิน” มันก็จะเหมือนคนกินจริงๆ แต่บางคำก็จะยากขึ้นอีก เมื่อการเคลื่อนไหวของมือคุณ มันไม่ได้เชื่อมโยงกันกับความคิดที่คุณอยากจะสื่อ

ให้เราพยายามเรียนคำศัพท์ให้เป็นหมวดหมู่ จับกลุ่มคำกับรูปภาพ หรือท่าทาง และนำไปเชื่อมกับคำอื่น ๆ เมื่อเราเชื่อมมันในใจได้แม่นยำแล้ว เราก็จะจำมันได้ง่ายขึ้น ซึ่งมีกิจกรรมที่น่าสนุกให้เราลองทำก็คือ ให้ลองเปลี่ยนคำให้กลายเป็นสิ่งที่เราต้องการสื่อความหมายแทน โดยดูไอเดียได้จากการใช้ Google Images search ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราจำความหมายของมันได้เร็วขึ้น และช่วยในเรื่องของการสะกดคำอีกด้วย

5. จำรูปแบบประโยค แทนการท่องจำกฎไวยากรณ์

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บอกว่า ให้เราลองดูวิดีโอตัวนี้เพียงนาทีแรก แล้วลองทำตามวิดีโอนี้ซ้ำๆ ถ้าเราจำและทำตามรูปแบบนี้ซ้ำๆ ได้ นั่นอาจจะช่วยให้เราเรียนภาษาใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น

ในงานวิจัยฉบับหนึ่ง ได้จัดนักเรียนตามกลุ่มของรูปทรง แล้วนักเรียนที่ค้นหารูปแบบของรูปทรงได้ดีที่สุด ก็จะเป็นนักเรียนที่เรียนรู้ภาษาฮีบรูได้ดีที่สุดด้วยเช่นกัน เพราะภาษาประกอบไปด้วยรูปแบบต่างๆ มากมาย ยิ่งเราค้นหารูปแบบเหล่านี้ได้เมื่อไหร่ เราก็จะเรียนภาษาได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

ใครเป็นบ้าง ใช้เวลาในการเรียนหลักการใช้ไวยากรณ์ และการสะกดคำมาเป็นสิบๆ ปี แต่ก็ยังจำไม่ได้ เพราะแทนที่เราจะจำตามกฎแกรมม่าเป๊ะๆ ให้ลองเปลี่ยนมาจำเป็นรูปแบบแทน

ลองมาดูรูปแบบรูปอดีตของกริยาปกติกัน ยกตัวอย่างเช่น กฎการใช้บอกว่า “การเปลี่ยนคำกริยาปกติ (regular verb) ให้เป็นอดีต (past tense) โดยการเติม -ED ต่อท้ายคำกริยา” ซึ่งถ้าเราจำกฎการใช้ไวยากรณ์นี้ได้จากการอ่านประโยคนี้ นั่นถือว่าคุณเจ๋งมากๆ เพราะสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว มันเป็นเรื่องที่ยากที่จะเข้าใจ จนกว่าจะได้เห็นว่ามันถูกใช้อย่างไร

ลองมาดูในลักษณะของรูปแบบของคำกริยาปกติ กับคำกริยาที่ผันเป็นอดีตแล้ว จากตัวอย่างนี้

  • Rain — Rained
  • Want — Wanted
  • Learn — Learned

เห็นรูปแบบของมันไหม  งั้นไปดูกันต่อเลย ดูที่ความแตกต่างระหว่างกลุ่มคำกริยาต่อไปนี้กับกลุ่มคำกริยาก่อนหน้านี้

  • Plan — Planned
  • Rot — Rotted
  • Stop — Stopped

ที่นี้สังเกตเห็นความแตกต่างตรงนี้ไหมเอ่ย รูปแบบของมันคืออะไร เมื่อพิจารณาดูแล้ว จะเห็นได้ว่ารูปแบบของกริยาก็คือ “เมื่อคำกริยาที่ลงท้ายด้วย พยัญชนะ – สระ – พยัญชนะ ให้เพิ่มตัวสะกดไปในตัวสุดท้าย ก่อนจะเติม -ED” นั่นเอง

6. ให้เรียนรู้เป็นวลี แทนการจำคำศัพท์

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บอกว่า คำศัพท์บางคำเมื่ออยู่แบบเดี่ยวๆ ก็จะมีความหมายนึง แต่เมื่อนำไปรวมกับคำอื่น v ความหมายก็จะต่างอย่างสิ้นเชิง เหมือนที่เราฟัง หรืออ่านประโยคภาษาอังกฤษ เราก็ต้องมองหากลุ่มคำพวกนี้

ลองดูประโยคนี้ “I ran around” (ฉันวิ่งไปรอบๆ) เหมือนคุณกำลังจะบอกว่าคุณวิ่งไปเรื่อยๆ ไม่มีจุดหมาย แต่ถ้าคุณเพิ่มเข้าไปสักสองคำ ก็จะกลายเป็น “I ran around the park” (ฉันวิ่งไปรอบๆ สวนสาธารณะ) ซึ่งความหมายของมันก็ต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง

ซึ่งงานวิจัยฉบับหนึ่งอธิบายว่า ลำดับของคำศัพท์อาจมีความสำคัญมากกว่าทั้งประโยค ลองคิดดูแบบนี้แล้วกันว่า “Bread and butter” กับ “butter and bread” มีความหมายเหมือนกันนะ แต่มีอยู่อันเดียวเท่านั้นที่เรียงลำดับได้ถูกต้อง นั่นก็คือ “Bread and butter”

การเรียนรู้คำศัพท์เดี่ยวๆ นั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องด้วยคำศัพท์หนึ่งคำนั้นมีความหมายมากกว่าหนึ่งความหมาย หากแค่รู้จักคำศัพท์ นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะสามารถใช้มันได้จริงๆ ดังนั้นเมื่อคุณเรียนคำศัพท์ใหม่ๆ คุณต้องเรียนวิธีใช้คำเหล่านั้นในวลี ประโยค และบทสนทนาด้วย

ตัวอย่างเช่นคำว่า “retrospect” หมายถึง การมองย้อนกลับไปที่บางสิ่งบางอย่าง ซึ่งคุณจะเห็นได้ว่ามันจะถูกใช้โดยมีคำว่า “in” นำหน้าเสมอ เช่น “In retrospect, I shouldn’t have eaten the whole cake.” (เมื่อนึกกลับไป ฉันไม่น่ากินเค้กทั้งหมดนั้นเลย) เป็นต้น หากคุณรู้วิธีการจัดกลุ่มคำศัพท์ได้ เมื่อคุณพูดออกมา มันก็จะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นนั่นเอง

7. เรียนภาษาด้วยบทเพลง

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บอกว่า เรายังจำเพลงน่ารักๆ ที่เคยเรียนเมื่อตอนที่ยังเป็นเด็กอยู่ได้ไหม พนันได้เลยว่า เรายังสามารถร้องเพลงที่แม่ หรือครูสอนได้แน่นอน นั่นก็ผ่านมานานมากๆ แล้ว แต่ทำไมเราถึงยังจำเพลงเหล่านี้ได้แม่นยำอยู่เลยล่ะ

เมื่อตอนที่เรายังเด็ก เพลงถือว่าสำคัญมากๆ ในการเรียนภาษา นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องมีเพลง เพื่อที่จะช่วยให้เด็กๆ จดจำเกี่ยวกับตัวเลข ตัวอักษร การสะกดคำ และเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ซึ่งการฟังเพลงซ้ำๆ จะช่วยให้เด็กจำส่วนที่สำคัญของภาษาได้ง่ายขึ้น

ดนตรีก็ช่วยให้ผู้ใหญ่เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน แต่ดนตรีมันจะไปสำคัญกว่าทักษะทางภาษาได้ยังไง หากอ้างอิงจากงานวิจัยฉบับนี้ได้บอกว่า วิธีการที่เราเรียนภาษานั้นไม่ต่างจากการเรียนดนตรีเลย ซึ่งต่างก็สำคัญทั้งสองอย่าง เช่น เราเรียนรู้ว่าเสียง “ba” และ “da” นั่นต่างกันอย่างไร ก็เหมือนเราเรียนรู้ว่า เสียงทรัมเป็ตกับเสียงเปียโนนั้นต่างกันอย่างไรนั่นเอง

ภาษาก็เปรียบเสมือนดนตรีชนิดหนึ่ง ดนตรีจะทำให้คุณเรียนภาษาได้ง่าย และเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งมีเพลงมากมายเลย ที่จะช่วยในการเรียนภาษาอังกฤษ ซึ่งคุณสามารถหาได้บน Youtube หรือที่ English Munmun ก็ได้เช่นกัน ลองฟังแล้วร้องตามดู คุณอาจจะพูดได้เหมือนเจ้าของภาษาโดยที่คุณไม่รู้ตัว

มันไม่มีทางลัดที่จะทำให้คุณเรียนภาษาได้เร็วหรอก แต่วิทยาศาสตร์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าบางเคล็ดลับก็ใช้ได้ผล และเร็วกว่าวิธีอื่นๆ นั่นเอง

กลับสู่สารบัญ

สรุป

จากการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เคล็ดลับข้างต้นที่ว่ามาจะเป็นตัวช่วยให้คุณ เรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ได้ดีและเร็วขึ้นได้ ยิ่งเรียนรู้และพัฒนาไปเรื่อยๆ สมองของคุณก็จะพัฒนาขึ้นตามด้วยเช่นกัน

อีกสิ่งที่เราอยากจะบอก

หากคุณสนุกไปกับการเรียนภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อการสอนที่สนุก และสมจริง คุณจะต้องชอบ English Munmun อย่างแน่นอน เพราะเราใช้วิธีการสอนที่สมจริง ไม่ใช่แค่เพียงถามตอบเท่านั้น เป็นตัวช่วยให้คุณเข้าใจในภาษา และวัฒนธรรมได้ง่ายมากขึ้น คุณจะสามารถเรียน และพูดภาษาอังกฤษได้แบบเจ้าของภาษาจริงๆ จากคอร์สเรียนที่เราขอแนะนำ

  1. Zero to Hero Pronunciation Course
  2. Pattern ง่ายๆ ฝึกได้จนพูดเป็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้ประเภทจำเป็นสำหรับระบบเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า